Exness

การบริหารเงินทุน (Money management)

การบริหารเงินทุนก่อนเล่น

การบริหารเงินทุนมีความสำคัญมากเป็นอันดับ 1 ในการลงทุนตลาด Forex  และตลาดหุ้นด้วย เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าเราจะตั้ง lot เท่าไหร่ จุดขาดทุน เป้าหมายของกำไรนั้น เราก็ไม่สามารถบริหารความเสี่ยงได้ ก็เท่ากับว่าเรามีความเสี่ยงอย่างมากในการลงทุน เราจำเป็นต้องจัดสรรค์การเทรดให้เหมาะสมกับตัวเรา วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการ

1.จำกัดความเสี่ยงให้พอดี (ให้แพ้ได้ 10 ครั้งติดต่อกันเท่าไหร่ ที่ว่าพอดี ? กี่ % ต้องใช้ความเสี่ยงคู่กับระบบเทรด
ระบบที่ 1. ระบบไม้เดี่ยว  ซึ่งเป็นระบบพื้นฐานที่สุด
1.ต้องดูความแม่นยำของการเทรดของเราเป็นหลัก
2.ถ้าโอกาสถูก 50-50, ให้คิดว่า เราจะทนผิดทางได้กี่ครั้งติดต่อกัน จะหมดพอร์ต
3.มีนักคณิตศาสตร์คิดไว้ละว่า 10% เป็นตัวเลขที่ดีที่สุดในระยะยาว
4.เช่น ถ้าเรามีทุน 2,000 USD, ให้ตั้ง cut loss ที่ 200 USD, จะทำให้ผิดทางได้ 10 ครั้งต่อกัน, และกำไร 200 USD เท่ากัน
5.ปกติ คิดไว้ 10 ครั้ง

          ระบบที่ระบบที่ดีที่สุด (Ideal System)
 •ลองคิดกลับกันว่า ถ้าเรามีเงินไม่จำกัด(Infinity) เราจะทำอย่างไรให้ชนะได้แน่นอนโดยไม่ต้องชนะมากก็ได้ แต่ขอให้ชนะทุกรอบในการเล่น                     
 •คำตอบ คือ ก็ Double Lot ไปเรื่อยๆ หากแพ้                      
 •เพราะเรารู้ว่าการแข่งขัน มีแพ้ มีชนะ 50-50, กราฟเองก็ มีเดินทางและมีพักตัว
 •ฉะนั้น หากเรา Double Lot ไปเรื่อยๆ,ขอแค่ชนะสักตา ก็พอ ก็จะชนะทั้งรอบนั้นได้ เช่น เริ่มวางเงินเดิม            พันที่ 1 ถ้าแพ้ วางตาต่อไปเพิ่มเป็น 2 ยังแพ้อีก ก็วาง 4,วาง 8, 16, 32,… เมื่อชนะก็จะได้เงินคืนและ          บวกกำไรเท่ากับการวางตาแรกเสมอ (อีก 1 USD)


ปัญหา 1: เราไม่มีเงิน Infinity
     (กลับทิศ สั้นๆ)
  วิธีแก้ 1: ทำให้เงินเราเหมือน infinity,โดยลง Lot แรกน้อยๆ เช่น ทุน 2,000 USD ก็วางตาแรก 1, 
ตาที่สอง 2,4,8,16,…


ครั้งที่     Enter $     Sum of $
  1              1                1
  2              2                3
  3              4                7
  4              8               15
  5             16              31
  6             32              63
  7             64             127
  8            128            255
  9            256            511
  10          512           1023
  11         1024          2047
  12         2048          4095
  13         4096          8191
  14         8192         16383
  15        16384        32767
  16        32768        65535
  17        65536       131071
  18      131072       262143

อีกวิธีหนึ่ง 
เมื่อคุณเสียไป 10% ของเงินทุน ให้วางแผน 2 ว่าคุณต้องชนะให้ได้ 11.11%ของเงินทุนครั้งแรก 
ถ้าครั้งที่ 2 เสียไป 10% รวมครั้งแรก 20% คุณก็ต้องวางแผน 3 ต่อ ว่าคุณต้องชนะให้ได้ 25% 
ตามรูปภาพนี้ครับ




การลงทุนก็จะเป็นเหมือนกราฟข้างล่างนี้ครับ





ทีนี้เรามาดูวิธีการตั้ง Lot ให้เหมาะกับเงินลงทุนของเรากันครับ

               
                  จำนวนเงิน       Lot          pip         ปลอดภัย
              10              0.01        1000           50%

              100            0.10        1000           50%
               1000          1.00        1000           50% 


          จำนวนเงิน       Lot          pip         ปลอดภัย
     100            0.05        2000          75%
      1000           0.50        2000          75% 
     10000           5.0        2000          75%


         จำนวนเงิน       Lot          pip         ปลอดภัย

     100            0.03        3333          100%
      1000          0.30        3333          100% 
     10000        3.00        3333          100%



ลองนำไปตั้งค่ากันดูนะครับว่าจะตั้ง Lot แบบไหนกัน

หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์  การบริหารเงินทุน (Money management)

หลักการเทรดฟอเร็กซ์

หลักการโดยทั่วไปในการเทรดฟอเร็กซ์ 




 1. การวางแผนการเทรดและเทรดตามแผนของคุณ(Plan your trade And Trade your plan)
     ในการเทรด ไม่ควรตัดสินตามอารมณ์ ความรู้สึกของคุณ ว่าราคาน่าจะขึ้น ราคาน่าจะลง แล้วเปิดคำสั่งเทรด คุณจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการเทรดเพื่อนำไปสู่ึความประสบความสำเร็จ แผนการเทรดที่ดี ควรประกอบด้วย 1. การกำหนด จุดเข้า หรือ สัญญาณในการเข้าเทรด 2 . การกำหนดจุด ขาดทุน ( Stop Loss) 3. การกำหนดเป้าหมายกำไร ( Target) 4. การวางแผนทางการเงิน ( Money Management) 5. การบริหารความเสี่ยง ( Risk Management) การจัดสรรค์การเรดให้เหมาะสม แผนการเทรดที่ดีจะช่วยให้คุณตัดอารมณ์ ออกจากการเทรด ช่วยให้คุณไม่ต้องมานั่งเครียด เวลาที่ติดลบ หรือ ไกล้จะ Call Margin ( เงินใกล้จะหมด) ไม่ต้องถูกบังคับปิด เช่น มาจิ้นของคุณหมด ตัวอย่างแผนการเทรดหรือระบบเทรด คุณสามารถ หาได้จากเ็ว็บนี้ หรือ จาก google ลองหาแผนการเทรดที่เหมาะกับตัวของคุณ ลองทดสอบระบบ และเทรดตามระบบด้วยเงินปลอม อาจจะปรับปรุงให้เหมาะสมกับตัวของคุณ แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับการเทรดของคุณ ซึ่งไม่มีระบบไหนที่ได้ผลการเทรดของคุณออกมา 100% ระบบเทรดที่ดี ควรมีประสิทธิ์ภาพมากกว่า 60 % ไม่ว่าคุณจะได้ระบบเทพ หรือ สุดยอดเทพ ยังไง คุณก็ต้องติดลบก่อน ไม่มีใครไม่เคย ติดลบ
      2. แนวโน้มของกราฟ คือเพื่อนของคุณ ( The Trend is Your Friend )
       อย่าคิดสวนเทรน ให้หาสัญญาณ Buy/ Long เมื่อ ตลาดอยู่ในสภาวะขาขึ้น ( Bullish Market ตลาดแดนบวก) และหาจังหวะ Sell/Short เมื่อตลาดอยู่ในสภาวะขาลง ( ฺำBearish Market ตลาดแดนลบ)
      3. การรักษาเงินลงทุน ( Focus on capital preservation)
       สิ่งสำคัญอีกอย่างสำหรับการเทรด ต้องรักษาเงินในบัญชีของคุณให้ดีที่สุด การเปิดคำสั่งเทรดแค่ละคำสั่ง ไม่ควรจะเกิน 10 % ของเงินในบัญชีเทรดของคุณ เช่น เงินทุน 1000 $ คุณควจจะเทรดไม่เกิน 100$ ถ้าไม่มีการรักษาเงินทุนไว้ เงินทุนจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อเทรดมาก ได้มาก ก็เสียมาก เช่นกัน เมื่อเงินหมด คุณอาจจะท้อ หรือเลิกไปเลย เพราะฉะนั้น ควรจะเล่นน้อยๆ เรื่อย ๆ แล้ว จะประสบผลสำเร็จในตลาดฟอเร็ก ฟอเ็ร็กไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่าย
      4.ต้องรู้ว่าเมื่อไรควรจะตัดขาดทุน (Know when to cut loss)
       ถ้าราคาวิ่งตรงข้ามกับที่คุณได้เทรดไว้ หรือคาดการณ์ไว้ สิิ่งแรกที่คุณต้องทำคือ ตัดเนื้อร้ายออกไป อย่าให้มันรุกราม แล้วหาโอกาสหรือจังหวะดีๆ เพื่อเข้าใหม่ การถือติดลบไว้ เป็นการเสียโอกาสในการหาจังหวะเข้าใหม่ในสัญญาณดีๆ และต้องมานั่งเครียด เพราะกลัวว่า มาจิ้น จะหมด คังคำที่พูดกันว่าเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย และ ลบน้อยตัดยาก ลบมากตัดง่าย ถ้าเลวร้ายจริงๆ คุณอาจจะโดนคำสั่งปิด Margin Call ดังนั้นเมื่อทำการเทรดทุกครั้ง ควรหาจุด Stop Loss จุดที่คุณควรปิดทิ้ง เมื่อราคาวิ่งตรงข้าม จากทีคาดการณ์ไว้ โดนอาจจะกำหนดไว้เลย เช่น Exit stop Loss -20 จุด -30 จุด หรือตั้งไว้ตามแนวรับแนวต้าน Support- Resistance
      5. ปิดทำกำไรเมื่อได้โอกาส หรือด้วยความพอใจของเรา(take Profit when the trade is good)
       ก่อนทำการเทรด ตั้งเป้าหมายไว้ ว่าต้องการกำไรเท่าไร เมื่อได้โอกาส ก็ควรปิดทำกำไร เป้าหมาย ( Target) อาจจะกำหนดตายตัว หรือ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของเรา เช่น ทำกำไร 20 จุด หรือ 30 จุด หรือกำหนด ตามแนวรับแนวต้าน ( Support and Resistance) หรือกำหนด โดย Fibonaccy ก็ได้
      6. ตัดอารมณ์ออกไป(Be Emotionless)
       สองอารมณ์ ที่มีผลมากให้การเทรด คือ ความโลภ ( Greedy) และความกลัว(fear) อย่าทำให่้สองสิ่งนี้ครอบงำจิตใจของคุณ เพราะมันจะทำให้คุณไม่สามารถเทรดได้ หมั่นฝึกฝนเทรดให้เป็นระบบ เทรดตามแผน หรือระบบเทรดที่คุณได้เตรียมไว้ จัดการ กับ การกำหนดจุดเข้า ( Entry Position) จุดออก ( Exit Position) ระบบการเงินของคุณ(Money Management) เพียงแค่นี้ คุณก็จะประสบความสำเร็จกับฟอเร็กได้
      7. อย่าเทรดตามคุณอื่น ( Do not trade base on tips from other people)
       ควรเทรดตามระบบ ตามสัญญาณ หรือตามแผนที่วางไว้ อย่าเทรดตามคนอื่นโดยเด็ดขาด วิเคราะห์ให้ดีทุกครั้งก่อนการเทรด
 
      8. จดบันทึกการเทรด (Keep A trade journal)
       เมื่อคุณเปิดคำสั่ง ซื้อ (Buy/Long) ให้จด เหตุผลว่าเข้าเพราะอะไร และจดความรู็้สึกตอนนั้นไว้ เมื่อเปิดคำสั่ง ขาย ( sell/Short) ก็ทำเช่นเดียวกัน แล้วนำมาวิเคราะห์ บันทึก ข้อผิดพลาด ในการเทรด ขำข้อผิดพลาดของคุณที่เกิดขึ้น นำมาเป็นบทเรียน แล้วอย่าทำตามนั้นอีก
      9.เมื่อไม่แน่ใจไม่ต้องเทรด( When in doubt, stay out)
      เมื่อคุณไม่มั่นใจหรือกำลังสับสน กับสภาวะของตลาดไม่แน่ใจว่าราคาจะวิ่งไปทางไหน ให้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องเทรด ออกไปเดินเล่นหาอย่างอื่นทำ แล้วก็รอตลาดในช่วงต่อไป คุณค่อยมาหาจังหวะการเทรดใหม่
     10. อย่าเทรดมากเกินไป ( DO Not Over Trade)
     ไม่ควรเปิดเทรดมากเกินไป ในการเทรดแต่ละครั้งควรมีออเดอร์ที่เปิดทิ้งไว้ ไม่เกิน 3 ออเดอร์ ถ้ามีมากเกินไป คุณอาจจะควบคุมไม่ได้ หรือาจจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเมื่อตลาดเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นอย่าเปิดเทรดจนมากเกินไป



ขอขอบคุณที่มา fx-dd.makewebeasy



หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์  การบริหารเงินทุน (Money management)

กลยุทธ์การตั้ง Stop Loss (จุดขาดทุน)


"ทำไมราคาวิ่งมาชน Stop loss (SL) ของเราอีกแล้ว" นี่น่าจะเป็นคำถามที่เทรดเดอร์ถามตัวเองแบบเซ็งๆเป็นประจำเมื่อออเดอร์ของเราโดน SL ที่มันเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ตลาดจะทำทุกอย่างที่มันอยากจะทำ เคลื่อนไหวไปในทางที่มันอยากจะไป เทรดเดอร์ต้องเจอกับความท้าทายใหม่ๆทุกวัน ส่วนมาก็จะเป็นในเรื่องของการเมืองทั่วโลก เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ หรือแม้แต่กระทั่งข่าวลือที่เกี่ยวกับธนาคารกลางที่สามารถทำให้ราคาวิ่งไปในทิศทางไหนก็ได้ในเวลาอันรวดเร็วโดยที่คุณไม่ทันได้ตั้งตัว นั่นก็หมายความว่า จะต้องมีเทรดเดอร์บางคนที่เปิดออเดอร์ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับราคาตลาด และต้องเสียเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมได้ว่าเราจะทำอย่างไรเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น เราสามารถปิดออเดอร์เพื่อตัดการขาดทุนในตอนนั้นเลย หรือว่าคุณจะนั่งรอคอยความหวังว่าราคามันจะกลับมาในที่ที่คุณต้องการ และถ้ามันไม่กลับมาอย่างที่คุณหวังไว้แล้วคุณปล่อยไปอย่างนั้นเรื่อยๆโดยไม่มีการตัดสินใจ พอร์ตของคุณก็อาจจะสะอาดได้ (ล้างพอร์ต)

คำพูดที่ว่า  "Live to trade another day!" น่าจะเป็นคำขวัญของเทรดเดอร์มือใหม่ทุกคน เพราะ ยิ่งคุณอยู่รอดได้นานเท่าไหร่ คุณก็สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นเท่านั้น และนั่นก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จของคุณด้วย
กลยุทธ์การเทรดอีกอย่างที่สำคัญคือการ  "stop losses" ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญที่เทรดเดอร์ควรจะรู้ไว้เพื่อเป็นอาวุธอย่างหนึ่งในการเทรด การที่มีการตั้ง SL นี้ นอกจากจะช่วยตัดการขาดทุนของคุณเพื่อให้มีโอกาสในการกู้สถานการณ์แล้ว มันยังช่วยขจัดความวิตกกังวลที่เกิดจากการสูญเสียในการเทรดโดยไม่ต้องวางแผนด้วย และความเครียดที่ลดลงมันก็เป็นผลดีในการเทรดของคุณด้วย
จุด SL ควรจะเป็นจุดที่ "ลบล้างความคิด" ในการเทรดสำหรับออเดอร์นั้นๆของคุณ ดังนั้นเมื่อราคามาถึงจุด SL มันก็น่าจะเป็นสัญญาณว่า "มันถึงเวลาที่ต้องออกจากออเดอร์นี้แล้ว"
การตั้งจะ SL นั้นมี 4 วิธี ที่เราสามารถเลือกใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน หรือเลือกแล้วแต่ความถนัดของเรา
1. หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน
2. หยุดตามรูปแบบของกราฟ
3. หยุดตามความผันผวน
4. หยุดตามเวลา


1. หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน
การตั้ง SL แบบนี้เป็นการตั้ง SL แบบพื้นฐานที่สุด โดยใช้การกำหนดความเสี่ยงจากสัดส่วนของเงินทุนที่อยู่ในบัญชี อย่างเช่นว่า เราเต็มใจที่จะเสี่ยงขาดทุนได้ที่ 2% ต่อการเทรดในแต่ละครั้ง แต่ว่าเทรดเดอร์ทุกคนจะยอมรับความเสี่ยได้ไม่เท่ากัน บางคนอาจจะรับความเสี่ยงได้ถึง 10% ในขณะที่บางคนอาจจะยอมเสี่ยงได้เพียงแค่ 1% เท่านั้น
และในการตั้ง SL คุณควรจะตั้งตามสภาวะของตลาด หรือตามกฎของระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งตามจำนวนเงินที่คุณจะยอมสูญเสียได้
สับสนมั้ยคะ :) งั้นเรามาดูตัวอย่างกัน
นายแดง มีบัญชีมินิ ที่มีเงินอยู่ $500 และ ขนาด Lot size ที่เขาสามารถเทรดได้คือ 10k ( ในบัญชีมินิ 10k เท่ากับการเทรดที่ จุดละ $1) แดงต้องการที่จะเทรด GBP/USD และเขาเห็นว่าราคาวิ่งอยู่แถวๆแนวต้านที่ระดับ 1.5620 เขาจึงต้องการที่จะเซล และตามกฎการลงทุนของเขาคือ เขาจะไม่เสี่ยงเกิน 2% ของเงินทุนในการเทรดแต่ละครั้ง และสำหรับการเทรดที่ขนาด 10k ของ GBP/USD แต่ละจุดมีค่า $1 และ 2% ของเงินในบัญชีแดงเท่ากับ $10 ดังแดงก็จะตั้ง SL ได้มากที่สุดที่ 10 จุด ดังนั้นแดงจะต้องตั้งจุด SL ของเขาไว้ที่ 1.5630

หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน

แต่ว่า GBP/USD มีการเคลื่อนไหวทีมากกว่า 100 จุดต่อวัน ราคาจึงอาจจะวิ่งมาชนจุด SL ของแดงได้อย่างง่ายดาย เพราะตำแหน่ง SL นั้นจำกัดด้วยการตั้งค่าความเสี่ยงจากเงินในบัญชีของเขา และเขาตัง SL ด้วยโดยยึดตามจำนวนเงินที่เขาสามารถสูญเสียได้ แทนที่จะกำหนดตามเงื่อนไขจากการเคลื่อนไหวของ GBP/USD

หยุดตามสัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน

และในที่สุด ราคาก็วิ่งมาชน SL ของแดง เพราะว่าจุด SL ของเขาที่วางไว้น้อยเกินไป และนอกเหนือจากนั้นคือ เขาเสียโอกาสที่จะเก็บมากกว่า 100 จุดด้วย
จากตัวอย่างนี้คุณได้เห็นถึงอันตรายจากการตั้ง SL จากการใช้สัดส่วนความเสี่ยงของเงินทุน ที่บังคับให้เทรดเดอร์ต้องตั้งจุด SL ในระดับราคาที่ไม่เหมาะสมกับสภาวะของตลาดและอย่างในกรณีนี้ จุด SL ก็อยุ่ใกล้กับจุดเปิดออเดอร์มาก และเป็นการตั้ง SL ที่ไม่ได้ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคร่วมด้วยเลย (เห็นว่าใกล้แนวต้านก็ใส่เลย ไม่ได้วิเคราะห์อย่างอื่นร่วมเลย)
คุณรู้อยู่แล้วว่า คุณควรจะตั้ง SL ในระดับที่ราคาสามารถจะกลับตัวมาในทิศทางที่คุณคาดคิดไว้โดยไม่ชน SL ของคุณ แต่ในกรณีนี้ราคามันวิ่งไปชน SL เข้าแล้ว จึงหมดโอกาสที่จะทำกำไรได้ และ วิธีแก้ปัญหาสำหรับแดงก็คือ หาโบรคเกอร์ที่เหมาะสมกับสไตร์การเทรดและเงินทุนของเขา
ในกรณีของแดง เขาควรแก้ไขโดยการหาโบรคเกอร์ที่เขาสามารถกำหนดขนาดการซื้อขายที่เล็กลง หรือแม้แต่สามารถกำหนดขนาดเองได้ อย่างเช่น สามารถเทรดที่ขนาด 1k ในคู่เงิน GBP/USD ได้ ซึ่งแต่ละจุด จะมีค่าเท่ากับ $0.10 ซึ่งจะทำให้แดงสามารถตั้งจุด SL ได้ตามเงื่อนไขความเสี่ยงของเขาได้อย่างสบายๆ แดงจะสามารถตั้งจุด SL สำหรับการเทรด GBP/USD ได้ถึง 100 จุด ในความเสี่ยงที่ 2% ของเงินในบัญชีของเขา และตอนนี้เขาก็สามารถตั้ง SL ให้เหมาะสมกับสภาวะของตลาด รวมทั้งเป็นไปตามกฎของระบบการซื้อขาย ตามแนวรับแนวต้านแล้ว


2. หยุดตามรูปแบบของกราฟ
วิธีการหาจุด SL อีกวิธหนึ่งที่เหมาะสมมากกว่าวิธีแรกคือ ตั้งตามรูปแบบของกราฟ เป็นการตั้ง SL โดยยึดตามสิ่งที่ที่ตลาดบอกเราด้วยรูปแบบของตัวมันเอง
เราสามารถสังเกตการเคลื่อนไหวของราคาได้ ในบางครั้งราคาก็ดูเหมือนไม่สามารถที่จะวิ่งทะลุผ่านแนวรับแนวต้านนั้นๆ และก็มีบ่อยครั้งที่ราคาวิ่งผ่านแนวรับแนวต้านไปได้ในที่สุดหลังจากวิ่งไปวิ่งมาอยู่ในกรอบแนวรับแนวต้านนั้นมาระยะหนึ่ง
การตั้งจุด SL ให้เหนือหรือต่ำกว่าระดับแนวรับแนวต้านนั้นก็เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลในกรณีที่ราคาไม่ Break ระดับแนวรับแนวต้าน แต่ถ้าราคาสามารถ break กรอบราคานั้น ก็จะทำให้เทรดเดอร์อื่นๆเห่เข้ามาเล่นด้วยเมื่อเห็นการทะลุของราคา (Breakout) และเทรดเดอร์เหล่านั้นอาจจะทำให้ราคาวิ่งไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับออเดอร์ของคุณ(ที่เล่นอยู่ในกรอบราคา) ได้ และอย่างที่คุณทราวว่าเมื่อเวลาพักตัวอยู่ในกรอบราคานั่นหมายถึงการสะสมพลัง ซึ่งเมื่อราคาเกิดการ Breakout แล้วก็มีแนวโน้มมากที่ราคาอาจวิ่งพุ่งเป็นเทรนไปในทิศทางนั้นๆ  ต่อไปเรามาดูตัวอย่างการตั้ง SL อีกอย่างหนึ่งเมื่อเกิดการ Breakout ของราคา
จากตัวอย่างเป็นการตั้ง SL โดยยึดตามแนวรับแนวต้าน

หยุดตามรูปแบบของกราฟ

ตามภาพตัวอย่างเราเห็นได้ว่าราคามีการซื้อขายกันอยู่เหนือเส้นแนวรับ (สีดำ) และเมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านแนวต้านด้านบน (สีแดง) ไปได้คุณก็คิดว่ามันการ Breakout ที่สวยงาม และคุณตัดสินใจที่จะซื้อตามแนวโน้มนั้น แต่ก่อนอื่นคุณต้องตั้งคำถามก่อนว่า ตรงไหนที่คุณจะตั้ง SL ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณคาดคิดไว้ และเงือนไขอะไรที่จะบอกคุณได้ว่า ความคิดของคุณในการเข้าซื้อครั้งนี้ไม่ถูกต้อง

หยุดตามรูปแบบของกราฟ

ในกรณีนี้ การตั้ง SL ที่สมเหตุสมผมมากที่สุดคือ ตั้ง SL ไว้ใต้แนวรับ (สำดำ) และเส้นเทรนไลน์ (สีแดง) และถ้าราคาวิ่งผ่านเส้นเทรนไลน์นี้ลงมาได้ ก็หมายความว่า มีแรงซื้อไม่พอและตอนนี้ผู้ขายเป็นฝ่ายควบคุมตลาด ดังนั้นความคิดของคุณในการเปิดออเดอร์ซื้อในครั้งนี้จึงเป็นความผิดพลาด และถึงเวลาที่คุณควรจะออกจากออเดอร์ของคุณและยอมรับการสูญเสีย คุณจะเห็นราคาวิ่งในลักษณะนี้ได้บ่อยมากในคู่เงิน EUR/USD







Credit:http://www.thaiforexschool.com


หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์  การบริหารเงินทุน (Money management)

รูปแบบราคา Harmonic


Harmonicคุณมีรูปแบบกราฟพื้นฐาน ในกล่องเครื่องมือ มาก พอสมควร ตอนนึ้ถึงเวลาที่จะเดินก้าวต่อไป และ หาเครื่องมือที่รุดหน้ากว่า เพื่อใช้ในการเทรด
ในบทนี้ จะเน้นไปที่รูปแบบพฤติกรรมราคาแบบฮาร์โมนิค ซึ่งอาจจะยากในการทำความเข้าใจ แต่เมื่อจับแนวทางถูก มันก็จะทำให้ คุณได้กำไร อย่างง่ายดาย ได้เหมือนกัน !
ประเด็นของการเล่นแบบนี้ ก็คือ ช่วยให้ระบุระดับต่าง ๆ ของเทรนด์ปัจจุบันได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราจะใช้เครื่องมือ อื่น ๆ ทีเรารู้มาด้วย ในบทนี้ เช่น แนวเส้นต่าง ๆ ของ Fibonacci และ Fibonacci extension! ถ้าเราเอามา ประยุกต์กับเครื่องมือเหล่านี้ ในการบอกรูปแบบราคา แบบ Harmonic ก็จะสามารถบอกได้ว่า บริเวณไหน ที่จะเป็นจุดที่เทรนด์จะหยุด หรือจะไปต่อ
ในบทเรียนนี้ เราจะพูดถึงเรื่อง รูปแบบราคาแบบฮาร์โมนิค ดังนี้ :
- รูปแบบ ABCD
- รูปแบบ Three-Drive
- รูปแบบ Gartley
- รูปแบบ Crab (ปู)
- รูปแบบ Bat (ค้างคาว)
- รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ)

เมื่อคุณเข้าใจแนวทางของมันแล้ว จะง่ายกว่าที่คิด เหมือนกับเลข 1-2-3 เราจะเริ่มจาก รูปแบบพื้น ๆ แบบ ABCD และรูปแบบ three-drive ก่อนที่เราจะไปที่รูปแบบ Gartley และ รูปแบบสัตว์ต่าง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้ และเข้าใจ แล้ว เราจะศึกษาไปยังสิ่งที่คุณจะต้องใช้ กับรูปแบบเหล่านี้ ในการเทรด อย่างประสบ ความสำเร็จ สำหรับรูปแบบ ฮาร์โมนิคเหล่านี้ ประเด็นก็คือ ให้รอจนกว่าจะมีรูปแบบเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะเทรด ไม่ว่าจะเป็นออร์เดอร์ Buy หรือ Sell แล้วคุณก็จะเข้าใจเอง ในสิ่งที่เรากำลังจะอธิบายให้คุณรู้ต่อไปนี้


รูปแบบ ABCD และ รูปแบบ Three-Drive.


หมี abcd
เริ่มบทนี้ด้วยรูปแบบราคา ฮาร์โมนิค ที่ง่ายที่สุดก่อน รูปแบบกราฟแบบ ABCD ในการจะกำหนดรูปแบบกราฟแบบนี้ ในโปรแกรม คุณจะต้องใช้สายตา และเครื่องมือ Fibonacci ทั้งกราฟรูปแบบกระทิง และรูปแบบหมี ในเวอร์ชั่นของ ABCD เส้น AB และเส้น CD จะถูกเรียกว่าขา ในขณะที่ เส้น BC จะเป็น Correction หรือ เส้นแนวรับ ถ้าคุณใช้ Fibonacci ที่ขาของเส้น AB เส้น BC ก็จะอยู่ที่ระดับ 0.618 และเส้น CD ก็จะอยู่ที่ระดับ 1.272 ใน Fibonacci extension ของเส้น BC
สิ่งที่ต้องทำคือ รอให้รูปแบบเหล่านี้เกิดขึ้นเสร็จแล้ว (ให้ถึงจุด D) ก่อนที่จะส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell
กระทิง abcd
คุณต้องการความแม่นยำกับมัน มีกฏให้ใช้กับรูปแบบ ABCD
- ความยาวของเส้น AB ควรจะเท่ากับ ความยาวของเส้น CD
- เวลาที่ทำให้ราคา เคลื่อนไปจากจุด A ถึงจุด B ควรจะเท่ากับเวลาที่มันเคลื่อนจากจุด C ถึงจุด D








Bear Three Drive
รูปแบบ Three-drive เหมือนกับรูปแบบ ABCD ยกเว้นมันมีสามขา (ซึ่งเราเรียกว่า Drive) และมีเส้น Correction หรือ แนวรับ จริง ๆ แล้ว รูปแบบ Three drive เป็นต้นกาเนิดของ Elliott Wave คุณจำเป็นต้องมีสายตา แหลมคม เครื่องมือ Fibonacci เป็นกุญแจในการถอดรหัสรูปแบบนี้





Bull Three Drive
ตามที่เห็นจากกราฟข้างบน จุด A ควรจะเป็นระดับ Fibonacci ที่ 61.8% ของ Drive 1 และ จุด B ควรจะเป็น ระดับ 0.618 ของ drive 2. และ Drive 2 ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 ของ Correction A และ Drive 3 ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 extension Fibonnacci ของ correction B

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรูปแบบ Three-drive เกิดขึ้นแล้ว คุณสามารถส่งออร์เดอร์ของคุณได้ทั้งออร์เดอร์ Buy และ ออร์เดอร์ Sell ซึ่งเมื่อราคาถึงจุด B คุณสามารถส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell ที่ระดับ 1.272 extension ซึ่งคุณไม่ควรจะพลาด!

แต่ก่อนอื่น เราควรตรวจดูว่า ตรงตามกฏเหล่านี้หรือไม่:
- เวลาที่ไปจนถึงจุดสิ้นสุด ของ Drive 2 ควรจะเท่ากับ เวลาที่จบ Drive 3
- เวลาที่ไปถึงจุดสิ้นสุดของเส้นแนวรับ A ควรจะเท่ากับ จุดแนวรับ B

หมายเหตุ : คนที่ไม่เข้าใจว่า Extension คืออะไร ให้ไปดูเรื่อง Fibonnacci extension


รูปแบบ Gartley และ รูปแบบสัตว์ต่าง ๆ

มีนักเทรดอัจฉริยะคนหนึ่ง ชื่อว่า Harold McKinley Gartley เขาเป็นผู้บริการให้คำปรึกษาในการลงทุน ในตลาด หลักทรัพย์ ในช่วงกลางของยุค 1930 และมีลูกค้ามากมาย ซึ่งบริการของเขาเป็นการรวมเอาวิทยาศาสตร์ และ วิธีการทางสถิติ ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาตลาดหุ้น

ในที่สุด Gartley ก็สามารถแก้ปัญหาใหญ่ ๆ สองอย่างของนักเทรดได้ คือ ควรจะซื้ออะไร และเมื่อไหร่ ในไม่ช้า นักเทรดก็เข้าใจว่า รูปแบบนี้ก็สามารถประยุกต์ใช้กับตลาดอื่น ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งหนังสือ โปรแกรมเทรด หรือ รูปแบบ การเทรดต่าง ๆ ก็อ้างทฤษฎี จากทฤษฎีของเขา

รูปแบบ Gartley "222" เป็นชื่อของเลขหน้า ที่พบในหนังสือของ Gartley ชื่อ Profits in the Stock Market. รูปแบบ Gartleys เป็นรูปแบบซึ่งรวมไปด้วยรูปแบบพื้นฐาน อย่าง ABCD ที่เราพูดไปก่อนหน้านี้แล้ว และ ให้ความสำคัญ ของจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดของราคา

หมี Gartleyรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดรูปแบบ Correction ของเทรนด์ ซึ่งจะมีรูปร่างคล้าย ตัว M หรือตัว W ในภาวะตลาดหมี รูปแบบนี้ช่วยให้นักเทรด หาจุดเข้าที่ดี ในการเข้าเทรดในเทรนด์ต่าง ๆ ได้ดี
รูปแบบ Gartley จะเกิดขึ้นเมื่อพฤติกรรมราคา ในเทรนด์ขาขึ้น หรือขาลง แต่ ต้องมีรูปแบบสัญญาณ Correction ก่อน แล้วสิ่งที่ทำให้รูปแบบ Gartley ทำให้มันทำงานได้ดี เมื่อในการหาจุดเหล่านี้คือ Fibonacci และ Fibonacci extension จุดนี้ให้สัญญาณชัดเจนว่า ทิศทางราคา อาจจะเกิดการกลับตัว
กระทิง Gartley

รูปแบบนี้อาจจะยากซักหน่อย เพราะมันทำให้คุณสับสันเมื่อคุณใส่ เครื่องมือ Fibonacci ลงไป กุญแจสำคัญ ในการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีความสับสน คือให้ทำทีละอย่าง แล้วค่อย ๆ วิเคราะห์ทีละขั้น

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม รูปแบบต่อไปนี้จะเกิดขึ้นทั้งรูปแบบ ABCD ในภาวะตลาดหมี และตลาดกระทิงได้ทั้งคู่ แต่ว่าต้องมีจุด (x) มาก่อนจุด D ถึงจะสามารถวิเคราะห์รูปแบบ Gartley ได้



โดยจะมีลักษณะดังนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .618 ของเส้น XA.
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .886 ที่ใดที่หนึ่งของเส้น AB.
3. ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .382 ของเส้น AB ดังนั้นเส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 ของเส้น BC และถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น AB เส้น CD ก็ควรจะเลื่อนไปอยู่ที่ระดับ 1.618 ของเส้น BC ตามลาดับ
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ .786 ของเส้น XA


รูปแบบ สัตว์ต่าง ๆ

เมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบ Gartley ได้รับความนิยมมากขึ้น และมาพร้อมกับรูปแบบของปัญหา หรือตัวแปร ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุผลบางอย่าง ผู้ค้นพบตัวแปรเหล่านี้ ได้ตั้งชื่อ เป็นชื่อของสัตว์แต่ละชนิด มีดังนี้ ...


หมี crab ปู
ในปี 2000, Scott Carney, คนที่เชื่อในรูปแบบราคาแบบ harmonic ค้นพบรูปแบบ "Crab" (ปู) เขาบอกว่า รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่แม่นยำที่สุด ในหมู่ของรูปแบบ Harmonic เพราะว่า เป็นจุดที่อาจจะเกิดจุดกลับเทรนด์ได้ (บางครั้งเรียกว่าเป็น จุดที่คุณจะหมดตัวได้)
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ High reward-to-risk (อัตรากำไรสูงกว่าขาดทุน) เพราะคุณสามารถตั้ง Stop loss ได้ไม่ต้องมากนัก


กระทิง crab ปู



รูปแบบปูจะต้องมีลักษณะอย่างนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .328 หรือ .618 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ .328 หรือไม่ก็ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC ระดับ Fibonacci เท่ากับ .328 ของเส้น AB ดังนั้น เส้น CD ควรจะเท่ากับ 2.24 ของเส้น BC และ ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น AB เส้น CD ก็ควรจะอยู่ที่ระดับ 3.618 extension ของเส้น BC
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.618 extension ของเส้น XA


หมี ค้างคาว     กระทิง ค้างคาว

ในปี 2001 Scott Carney พบรูปแบบ Harmonic ขึ้นมาอีก เขาจึงเรียกมันว่า Bat หรือ ค้างคาว รูปแบบ Bat นี้จะอยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น XA ซึ่งจะเป็นจุดที่คาดว่าจะเป็นจุดกลับตัวของทิศทางราคา

โดยรูปแบบ Bat จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .500 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยูที่ระดับ .382 หรือ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC อยูที่ระดับ .382 ของ AB และเส้น CD อยู่ที่ 1.618 ของ extension ของเส้น BC และ BC อยู่ที่ .886 ของเส้น AB เส้น CD ควรจะอยู่ที่ 2.168 ของ Extension BC ตามลาดับ
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น XA


หมี ผีเสื้อ     กระทิง ผีเสื้อ

รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ) เปรียบรูปแบบนี้เหมือนกับ โมฮัมหมัด อาลี ถ้าคุณเห็นรูปแบบนี้ คุณก็อาจจะมีโอกาสน็อคคู่ต่อสู้ และได้รางวัลเป็น pip มากมาย!

รูปแบบนี้ค้นพบโดย Bryce Gilmore รูปแบบ Butterfly ที่สมบูรณ์แบบ คือ เส้น AB อยู่ทีระดับ .768 ของเส้น XA และ เส้น Butterfly จะมีลักษณะดังนี้:

1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .786 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .382 ของเส้น AB ดังนั้น เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.618 ของ เส้น BC extension และถ้า เส้น BC อยู่ที่ .886 ของเส้น AB ดังนั้นเส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 2.168 ของเส้น BC extension
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.27 หรือ 1.618 ของเส้น XA extension


3 ขั้นตอนในการเทรดโดยใช้รูปแบบราคาแบบ Harmonic

สิ่งที่คุณได้รู้ จากบทความนี้ เราจะทำกำไรได้จากการเทรดแบบ ฮาร์โมนิค ได้ก็ต่อเมื่อ เราสามารถระบุ การเกิดรูปแบบอย่างสมบูรณ์แบบ และส่งออร์เดอร์เมื่อมันเกิดรูปแบบที่สมบูรณ์แล้ว

มีขั้นตอนพื้นฐาน 3 ขั้นตอน ในการระบุการเกิดของรูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 1 ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 2 ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด(Fibonacci)
- ขั้นที่ 3 ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

ตามขั้นตอนดังกล่าว คุณสามารถระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic ที่มีความน่าจะเป็นสูง ในการทำกำไรได้

ขั้นที่ 1: ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic

การเกิด Harmonic

ดูเหมือนรูปแบบ Harmonic ขึ้นมาบ้างรึไม่ และ ณ จุดนี้ เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นรูปแบบอะไร มันเหมือนรูปแบบ three drive แต่ว่าอาจจะเป็นรูปแบบ Bat หรือ Crab อีกก็เป็นได้ หรือ อาจจะเป็นกวางมูส ก็ได้

เรามาหาจุดกลับตัว

ขั้นที่ 2: ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด (Fibonacci) ใช้เครื่องมือ Fibonacci

ประเมินรูปแบบ Harmonic

1. เส้น BC อยู่ที่ระดับ .618 ของเส้น AB
2. เส้น CD อยู่ที่ระดับ 1.272 extension ของเส้น BC
3. ความยาวของเส้น AB จะมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของเส้น CD

รูปแบบนี้ จะทำให้เกิดรูปแบบ ตลาดกระทิง ABCD ซึ่งเป็นสัญญาณให้เราซื้อ

ขั้นที่ 3: ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

Harmonic สมบูรณ์

หลังจากที่ เกิดรูปแบบราคาแล้ว สิ่งที่จะต้องทำ คือ ส่งออร์เดอร์ให้ถูกทาง ไม่ว่าจะเป็น Buy หรือ Sell
ในกรณีนี้ ควรจะซื้อที่จุด D ซึ่งอยู่ที่ 1.272 ของเส้น Fibonacci extension ของเส้น CB และใส่ stop loss ให้ต่ำกว่าราคาที่ส่งออร์เดอร์เล็กน้อย

ง่ายไปหน่อยไหม ? ไม่อย่างนั้นเสมอไป

ปัญหาของรูปแบบ Harmonic คือ ยากที่จะระบุจุดที่มันเกิดได้ ยากที่จะระบุประเภทของมันได้ นอกจากคุณ จะเข้าใจขั้นตอนในการวิเคราะห์ต่าง ๆ และ ต้องมีสายตาเฉียบคม ในการระบุการเกิดรูปแบบฮาร์โมนิค และต้องอดทน เพื่อไม่ให้ตัวเองเขาไปในช่วงที่รูปแบบ Harmonic จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว

ทิศทางราคารูปแบบ Harmonic ทำให้เราบอกได้ว่า จุดไหนที่เทรนด์จะไปต่อ หรือจะเกิดจุดกลับตัว

รูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic มี 6 แบบ :
- รูปแบบ ABCD
- รูปแบบ Three-Drive
- รูปแบบ Gartley
- รูปแบบ Crab (ปู)
- รูปแบบ Bat (ค้างคาว)
- รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ)

ขั้นตอนพื้นฐาน ในการระบุการเกิดรูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic มีดังนี้
- ขั้นที่ 1: ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 2: ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด(Fibonacci)
- ขั้นที่ 3: ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

รูปแบบ Harmonic จะมีความสมบูรณ์แบบเพียงใด มันยากในการระบุ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนพื้นฐานเหล่านี้ คือ คุณต้องมีสายตาที่เฉียบคม ในการระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic และมีความอดทน ในการที่จะไม่เข้าตลาด ก่อนที่รูปแบบHarmonic จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว

ถ้าคุณฝึกแล้วมีประสบการณ์เพียงพอ การเทรดโดยใช้ Harmonic จะสามารถทำกำไรให้คุณได้อย่างงาม!

Cradit http://indicatorforex2tred.blogspot.com



หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

การใช้ fibonacci

การใช้ fibonacci เป็นการใช้วัดความเคลื่อนไหวของกราฟ โดยมีเป้าหมายหลักคือ ค่า 161.8 และ 127.0
และแนวรับแนวต้านที่สำคัญคือ ค่า 61.8 และ 38.2 ส่วนถ้าทะลุ ค่า 0  จะเป็นจุดเปลี่ยนเทรน ลองมาดูวีดีโอ การใช้ fibonanci ครับ








หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

วิธีการอ่านข่าว


การวิเคราะห์ข่าวจากเว็บข่าว Forex Factory


การอ่านข่าวใน ForexFactory.com
Forex News: ข่าวที่มีผลต่อตลาดเงิน จะเป็นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงินของประเทศต่างๆ ข่าวของแต่ละประเทศ จะมีผลต่อค่าเงินของประเทศนั้น ข่าวที่มีผลต่อค่าเงินมาก ตัวอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate), อัตราจ้างงาน (Employment Change), การประกาศตัวเลข GDP
ถ้าข่าวเศรษฐกิจ ของประเทศ ออกมาดี เช่น การจ้างงานเพิ่มขึ้น, GDP เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น ตัวเลขออกมาดี คนแย่งกันซื้อ ค่าเงินก็จะสูงขึ้น ตามหลัก อุปสงค์/อุปทาน ถ้าข่าวออกมาเศรษฐกิจ ไม่ดี คนย่อมไม่อยาก จะถือเงินนั้นไว้ พากันเทขายออกมา ค่าเงินจึงลดลง
เมื่อเรารู้ว่าข่าวทำให้ค่าเงินนั้นๆ ขึ้น จะมีผลต่อราคาคู่เงินที่เราเล่น อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าข่าวออกมาแล้วค่าเงิน USD (ดอลล่าร์สหรัฐฯ) แข็งขึ้น ดอลล่าร์สูงขึ้น คู่เงินที่มี USD นำหน้า ราคาจะวิ่งขึ้นไป เช่น (USD/JPY, USD/CHF, USD/CAD) และคู่เงินที่มี USD ข้างหลัง ราคาก็จะลดลง เพราะตัวหารเพิ่มขึ้น เช่น (EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, NZD/USD) ถ้า USD อ่อนลง ก็กลับกัน

ข่าวที่สำคัญๆ จะมีต่อค่าเงินมาก ณ.เวลาที่ข่าวออก ราคาของคู่เงินอาจ ขึ้น/ลง มากกว่า 100 จุด ขึ้นอยู่กับ ผลของข่าว ผู้ที่ต้องการเล่นข่าวห้ามพลาดเด็ดขาด ผู้ที่เล่นเทคนิค เล่นตามซิกแนล ควรหลีกเหลี่ยงช่วงข่าวสำคัญ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข่าวให้ดี ถ้าเรามีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเงิน จะเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ
http://www.forexfactory.com/ จะมีข่าวของค่าเงินและข่าวที่กระทบของค่าเงินต่างๆซึ่งมีระดับความสำคัญดังนี้ครับ


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance : 
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
4 GDP ( Gross Domestic Production ) : จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure) : ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
6 CPI ( Consumer Price index ) : ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
7 TICS ( Treasury International Capital System ) : ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting ) : จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
9 Retail Sales : ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey : ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
11 PPI ( Producer Price Index ) : ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims : ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
13 Personal Income : ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
14 Personal spending : ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England ) : การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป) และ2.อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany,Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden,Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และSlovenia)
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders :
 ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager ) : ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
19 Philadelphia Fed. Survey : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
20 ISM Non-Manufacturing Index : ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
21 Factory Orders : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
22 Industrial Production & Capacity Utilization : ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
23 Non-Farm Productivity : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
24 Current Account Balance : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment ) : ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index ) : ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
27 Leading Indicators : ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim,Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
28 Business Inventories : ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany ) : ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)







หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

เครื่องคำนวนอัตราแลกเปลี่ยน

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Christian Forex Facebook