Exness

รูปแบบราคา Harmonic


Harmonicคุณมีรูปแบบกราฟพื้นฐาน ในกล่องเครื่องมือ มาก พอสมควร ตอนนึ้ถึงเวลาที่จะเดินก้าวต่อไป และ หาเครื่องมือที่รุดหน้ากว่า เพื่อใช้ในการเทรด
ในบทนี้ จะเน้นไปที่รูปแบบพฤติกรรมราคาแบบฮาร์โมนิค ซึ่งอาจจะยากในการทำความเข้าใจ แต่เมื่อจับแนวทางถูก มันก็จะทำให้ คุณได้กำไร อย่างง่ายดาย ได้เหมือนกัน !
ประเด็นของการเล่นแบบนี้ ก็คือ ช่วยให้ระบุระดับต่าง ๆ ของเทรนด์ปัจจุบันได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เราจะใช้เครื่องมือ อื่น ๆ ทีเรารู้มาด้วย ในบทนี้ เช่น แนวเส้นต่าง ๆ ของ Fibonacci และ Fibonacci extension! ถ้าเราเอามา ประยุกต์กับเครื่องมือเหล่านี้ ในการบอกรูปแบบราคา แบบ Harmonic ก็จะสามารถบอกได้ว่า บริเวณไหน ที่จะเป็นจุดที่เทรนด์จะหยุด หรือจะไปต่อ
ในบทเรียนนี้ เราจะพูดถึงเรื่อง รูปแบบราคาแบบฮาร์โมนิค ดังนี้ :
- รูปแบบ ABCD
- รูปแบบ Three-Drive
- รูปแบบ Gartley
- รูปแบบ Crab (ปู)
- รูปแบบ Bat (ค้างคาว)
- รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ)

เมื่อคุณเข้าใจแนวทางของมันแล้ว จะง่ายกว่าที่คิด เหมือนกับเลข 1-2-3 เราจะเริ่มจาก รูปแบบพื้น ๆ แบบ ABCD และรูปแบบ three-drive ก่อนที่เราจะไปที่รูปแบบ Gartley และ รูปแบบสัตว์ต่าง ๆ หลังจากที่ได้เรียนรู้ และเข้าใจ แล้ว เราจะศึกษาไปยังสิ่งที่คุณจะต้องใช้ กับรูปแบบเหล่านี้ ในการเทรด อย่างประสบ ความสำเร็จ สำหรับรูปแบบ ฮาร์โมนิคเหล่านี้ ประเด็นก็คือ ให้รอจนกว่าจะมีรูปแบบเกิดขึ้นก่อนที่คุณจะเทรด ไม่ว่าจะเป็นออร์เดอร์ Buy หรือ Sell แล้วคุณก็จะเข้าใจเอง ในสิ่งที่เรากำลังจะอธิบายให้คุณรู้ต่อไปนี้


รูปแบบ ABCD และ รูปแบบ Three-Drive.


หมี abcd
เริ่มบทนี้ด้วยรูปแบบราคา ฮาร์โมนิค ที่ง่ายที่สุดก่อน รูปแบบกราฟแบบ ABCD ในการจะกำหนดรูปแบบกราฟแบบนี้ ในโปรแกรม คุณจะต้องใช้สายตา และเครื่องมือ Fibonacci ทั้งกราฟรูปแบบกระทิง และรูปแบบหมี ในเวอร์ชั่นของ ABCD เส้น AB และเส้น CD จะถูกเรียกว่าขา ในขณะที่ เส้น BC จะเป็น Correction หรือ เส้นแนวรับ ถ้าคุณใช้ Fibonacci ที่ขาของเส้น AB เส้น BC ก็จะอยู่ที่ระดับ 0.618 และเส้น CD ก็จะอยู่ที่ระดับ 1.272 ใน Fibonacci extension ของเส้น BC
สิ่งที่ต้องทำคือ รอให้รูปแบบเหล่านี้เกิดขึ้นเสร็จแล้ว (ให้ถึงจุด D) ก่อนที่จะส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell
กระทิง abcd
คุณต้องการความแม่นยำกับมัน มีกฏให้ใช้กับรูปแบบ ABCD
- ความยาวของเส้น AB ควรจะเท่ากับ ความยาวของเส้น CD
- เวลาที่ทำให้ราคา เคลื่อนไปจากจุด A ถึงจุด B ควรจะเท่ากับเวลาที่มันเคลื่อนจากจุด C ถึงจุด D








Bear Three Drive
รูปแบบ Three-drive เหมือนกับรูปแบบ ABCD ยกเว้นมันมีสามขา (ซึ่งเราเรียกว่า Drive) และมีเส้น Correction หรือ แนวรับ จริง ๆ แล้ว รูปแบบ Three drive เป็นต้นกาเนิดของ Elliott Wave คุณจำเป็นต้องมีสายตา แหลมคม เครื่องมือ Fibonacci เป็นกุญแจในการถอดรหัสรูปแบบนี้





Bull Three Drive
ตามที่เห็นจากกราฟข้างบน จุด A ควรจะเป็นระดับ Fibonacci ที่ 61.8% ของ Drive 1 และ จุด B ควรจะเป็น ระดับ 0.618 ของ drive 2. และ Drive 2 ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 ของ Correction A และ Drive 3 ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 extension Fibonnacci ของ correction B

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อรูปแบบ Three-drive เกิดขึ้นแล้ว คุณสามารถส่งออร์เดอร์ของคุณได้ทั้งออร์เดอร์ Buy และ ออร์เดอร์ Sell ซึ่งเมื่อราคาถึงจุด B คุณสามารถส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell ที่ระดับ 1.272 extension ซึ่งคุณไม่ควรจะพลาด!

แต่ก่อนอื่น เราควรตรวจดูว่า ตรงตามกฏเหล่านี้หรือไม่:
- เวลาที่ไปจนถึงจุดสิ้นสุด ของ Drive 2 ควรจะเท่ากับ เวลาที่จบ Drive 3
- เวลาที่ไปถึงจุดสิ้นสุดของเส้นแนวรับ A ควรจะเท่ากับ จุดแนวรับ B

หมายเหตุ : คนที่ไม่เข้าใจว่า Extension คืออะไร ให้ไปดูเรื่อง Fibonnacci extension


รูปแบบ Gartley และ รูปแบบสัตว์ต่าง ๆ

มีนักเทรดอัจฉริยะคนหนึ่ง ชื่อว่า Harold McKinley Gartley เขาเป็นผู้บริการให้คำปรึกษาในการลงทุน ในตลาด หลักทรัพย์ ในช่วงกลางของยุค 1930 และมีลูกค้ามากมาย ซึ่งบริการของเขาเป็นการรวมเอาวิทยาศาสตร์ และ วิธีการทางสถิติ ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของราคาตลาดหุ้น

ในที่สุด Gartley ก็สามารถแก้ปัญหาใหญ่ ๆ สองอย่างของนักเทรดได้ คือ ควรจะซื้ออะไร และเมื่อไหร่ ในไม่ช้า นักเทรดก็เข้าใจว่า รูปแบบนี้ก็สามารถประยุกต์ใช้กับตลาดอื่น ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งหนังสือ โปรแกรมเทรด หรือ รูปแบบ การเทรดต่าง ๆ ก็อ้างทฤษฎี จากทฤษฎีของเขา

รูปแบบ Gartley "222" เป็นชื่อของเลขหน้า ที่พบในหนังสือของ Gartley ชื่อ Profits in the Stock Market. รูปแบบ Gartleys เป็นรูปแบบซึ่งรวมไปด้วยรูปแบบพื้นฐาน อย่าง ABCD ที่เราพูดไปก่อนหน้านี้แล้ว และ ให้ความสำคัญ ของจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดของราคา

หมี Gartleyรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดรูปแบบ Correction ของเทรนด์ ซึ่งจะมีรูปร่างคล้าย ตัว M หรือตัว W ในภาวะตลาดหมี รูปแบบนี้ช่วยให้นักเทรด หาจุดเข้าที่ดี ในการเข้าเทรดในเทรนด์ต่าง ๆ ได้ดี
รูปแบบ Gartley จะเกิดขึ้นเมื่อพฤติกรรมราคา ในเทรนด์ขาขึ้น หรือขาลง แต่ ต้องมีรูปแบบสัญญาณ Correction ก่อน แล้วสิ่งที่ทำให้รูปแบบ Gartley ทำให้มันทำงานได้ดี เมื่อในการหาจุดเหล่านี้คือ Fibonacci และ Fibonacci extension จุดนี้ให้สัญญาณชัดเจนว่า ทิศทางราคา อาจจะเกิดการกลับตัว
กระทิง Gartley

รูปแบบนี้อาจจะยากซักหน่อย เพราะมันทำให้คุณสับสันเมื่อคุณใส่ เครื่องมือ Fibonacci ลงไป กุญแจสำคัญ ในการหลีกเลี่ยงไม่ให้มีความสับสน คือให้ทำทีละอย่าง แล้วค่อย ๆ วิเคราะห์ทีละขั้น

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม รูปแบบต่อไปนี้จะเกิดขึ้นทั้งรูปแบบ ABCD ในภาวะตลาดหมี และตลาดกระทิงได้ทั้งคู่ แต่ว่าต้องมีจุด (x) มาก่อนจุด D ถึงจะสามารถวิเคราะห์รูปแบบ Gartley ได้



โดยจะมีลักษณะดังนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .618 ของเส้น XA.
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .886 ที่ใดที่หนึ่งของเส้น AB.
3. ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .382 ของเส้น AB ดังนั้นเส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.272 ของเส้น BC และถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น AB เส้น CD ก็ควรจะเลื่อนไปอยู่ที่ระดับ 1.618 ของเส้น BC ตามลาดับ
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ .786 ของเส้น XA


รูปแบบ สัตว์ต่าง ๆ

เมื่อเวลาผ่านไป รูปแบบ Gartley ได้รับความนิยมมากขึ้น และมาพร้อมกับรูปแบบของปัญหา หรือตัวแปร ที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุผลบางอย่าง ผู้ค้นพบตัวแปรเหล่านี้ ได้ตั้งชื่อ เป็นชื่อของสัตว์แต่ละชนิด มีดังนี้ ...


หมี crab ปู
ในปี 2000, Scott Carney, คนที่เชื่อในรูปแบบราคาแบบ harmonic ค้นพบรูปแบบ "Crab" (ปู) เขาบอกว่า รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่แม่นยำที่สุด ในหมู่ของรูปแบบ Harmonic เพราะว่า เป็นจุดที่อาจจะเกิดจุดกลับเทรนด์ได้ (บางครั้งเรียกว่าเป็น จุดที่คุณจะหมดตัวได้)
รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ High reward-to-risk (อัตรากำไรสูงกว่าขาดทุน) เพราะคุณสามารถตั้ง Stop loss ได้ไม่ต้องมากนัก


กระทิง crab ปู



รูปแบบปูจะต้องมีลักษณะอย่างนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .328 หรือ .618 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ .328 หรือไม่ก็ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC ระดับ Fibonacci เท่ากับ .328 ของเส้น AB ดังนั้น เส้น CD ควรจะเท่ากับ 2.24 ของเส้น BC และ ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น AB เส้น CD ก็ควรจะอยู่ที่ระดับ 3.618 extension ของเส้น BC
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.618 extension ของเส้น XA


หมี ค้างคาว     กระทิง ค้างคาว

ในปี 2001 Scott Carney พบรูปแบบ Harmonic ขึ้นมาอีก เขาจึงเรียกมันว่า Bat หรือ ค้างคาว รูปแบบ Bat นี้จะอยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น XA ซึ่งจะเป็นจุดที่คาดว่าจะเป็นจุดกลับตัวของทิศทางราคา

โดยรูปแบบ Bat จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ :
1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .500 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยูที่ระดับ .382 หรือ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC อยูที่ระดับ .382 ของ AB และเส้น CD อยู่ที่ 1.618 ของ extension ของเส้น BC และ BC อยู่ที่ .886 ของเส้น AB เส้น CD ควรจะอยู่ที่ 2.168 ของ Extension BC ตามลาดับ
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ .886 ของเส้น XA


หมี ผีเสื้อ     กระทิง ผีเสื้อ

รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ) เปรียบรูปแบบนี้เหมือนกับ โมฮัมหมัด อาลี ถ้าคุณเห็นรูปแบบนี้ คุณก็อาจจะมีโอกาสน็อคคู่ต่อสู้ และได้รางวัลเป็น pip มากมาย!

รูปแบบนี้ค้นพบโดย Bryce Gilmore รูปแบบ Butterfly ที่สมบูรณ์แบบ คือ เส้น AB อยู่ทีระดับ .768 ของเส้น XA และ เส้น Butterfly จะมีลักษณะดังนี้:

1. เส้น AB ควรจะอยู่ที่ระดับ .786 ของเส้น XA
2. เส้น BC ควรจะอยู่ที่ระดับ .382 หรือ .886 ของเส้น AB
3. ถ้าเส้น BC อยู่ที่ระดับ .382 ของเส้น AB ดังนั้น เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.618 ของ เส้น BC extension และถ้า เส้น BC อยู่ที่ .886 ของเส้น AB ดังนั้นเส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 2.168 ของเส้น BC extension
4. เส้น CD ควรจะอยู่ที่ระดับ 1.27 หรือ 1.618 ของเส้น XA extension


3 ขั้นตอนในการเทรดโดยใช้รูปแบบราคาแบบ Harmonic

สิ่งที่คุณได้รู้ จากบทความนี้ เราจะทำกำไรได้จากการเทรดแบบ ฮาร์โมนิค ได้ก็ต่อเมื่อ เราสามารถระบุ การเกิดรูปแบบอย่างสมบูรณ์แบบ และส่งออร์เดอร์เมื่อมันเกิดรูปแบบที่สมบูรณ์แล้ว

มีขั้นตอนพื้นฐาน 3 ขั้นตอน ในการระบุการเกิดของรูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 1 ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 2 ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด(Fibonacci)
- ขั้นที่ 3 ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

ตามขั้นตอนดังกล่าว คุณสามารถระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic ที่มีความน่าจะเป็นสูง ในการทำกำไรได้

ขั้นที่ 1: ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic

การเกิด Harmonic

ดูเหมือนรูปแบบ Harmonic ขึ้นมาบ้างรึไม่ และ ณ จุดนี้ เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นรูปแบบอะไร มันเหมือนรูปแบบ three drive แต่ว่าอาจจะเป็นรูปแบบ Bat หรือ Crab อีกก็เป็นได้ หรือ อาจจะเป็นกวางมูส ก็ได้

เรามาหาจุดกลับตัว

ขั้นที่ 2: ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด (Fibonacci) ใช้เครื่องมือ Fibonacci

ประเมินรูปแบบ Harmonic

1. เส้น BC อยู่ที่ระดับ .618 ของเส้น AB
2. เส้น CD อยู่ที่ระดับ 1.272 extension ของเส้น BC
3. ความยาวของเส้น AB จะมีความยาวใกล้เคียงกับความยาวของเส้น CD

รูปแบบนี้ จะทำให้เกิดรูปแบบ ตลาดกระทิง ABCD ซึ่งเป็นสัญญาณให้เราซื้อ

ขั้นที่ 3: ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

Harmonic สมบูรณ์

หลังจากที่ เกิดรูปแบบราคาแล้ว สิ่งที่จะต้องทำ คือ ส่งออร์เดอร์ให้ถูกทาง ไม่ว่าจะเป็น Buy หรือ Sell
ในกรณีนี้ ควรจะซื้อที่จุด D ซึ่งอยู่ที่ 1.272 ของเส้น Fibonacci extension ของเส้น CB และใส่ stop loss ให้ต่ำกว่าราคาที่ส่งออร์เดอร์เล็กน้อย

ง่ายไปหน่อยไหม ? ไม่อย่างนั้นเสมอไป

ปัญหาของรูปแบบ Harmonic คือ ยากที่จะระบุจุดที่มันเกิดได้ ยากที่จะระบุประเภทของมันได้ นอกจากคุณ จะเข้าใจขั้นตอนในการวิเคราะห์ต่าง ๆ และ ต้องมีสายตาเฉียบคม ในการระบุการเกิดรูปแบบฮาร์โมนิค และต้องอดทน เพื่อไม่ให้ตัวเองเขาไปในช่วงที่รูปแบบ Harmonic จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว

ทิศทางราคารูปแบบ Harmonic ทำให้เราบอกได้ว่า จุดไหนที่เทรนด์จะไปต่อ หรือจะเกิดจุดกลับตัว

รูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic มี 6 แบบ :
- รูปแบบ ABCD
- รูปแบบ Three-Drive
- รูปแบบ Gartley
- รูปแบบ Crab (ปู)
- รูปแบบ Bat (ค้างคาว)
- รูปแบบ Butterfly (ผีเสื้อ)

ขั้นตอนพื้นฐาน ในการระบุการเกิดรูปแบบทิศทางราคาแบบ Harmonic มีดังนี้
- ขั้นที่ 1: ระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic
- ขั้นที่ 2: ประเมินรูปแบบ Harmonic ว่าอยู่ในระดับใด(Fibonacci)
- ขั้นที่ 3: ส่งออร์เดอร์ Buy หรือ sell หลังจากที่รูปแบบ Harmonic เกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว

รูปแบบ Harmonic จะมีความสมบูรณ์แบบเพียงใด มันยากในการระบุ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าขั้นตอนพื้นฐานเหล่านี้ คือ คุณต้องมีสายตาที่เฉียบคม ในการระบุการเกิดรูปแบบ Harmonic และมีความอดทน ในการที่จะไม่เข้าตลาด ก่อนที่รูปแบบHarmonic จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว

ถ้าคุณฝึกแล้วมีประสบการณ์เพียงพอ การเทรดโดยใช้ Harmonic จะสามารถทำกำไรให้คุณได้อย่างงาม!

Cradit http://indicatorforex2tred.blogspot.com



หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

การใช้ fibonacci

การใช้ fibonacci เป็นการใช้วัดความเคลื่อนไหวของกราฟ โดยมีเป้าหมายหลักคือ ค่า 161.8 และ 127.0
และแนวรับแนวต้านที่สำคัญคือ ค่า 61.8 และ 38.2 ส่วนถ้าทะลุ ค่า 0  จะเป็นจุดเปลี่ยนเทรน ลองมาดูวีดีโอ การใช้ fibonanci ครับ








หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

วิธีการอ่านข่าว


การวิเคราะห์ข่าวจากเว็บข่าว Forex Factory


การอ่านข่าวใน ForexFactory.com
Forex News: ข่าวที่มีผลต่อตลาดเงิน จะเป็นข่าวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเงินของประเทศต่างๆ ข่าวของแต่ละประเทศ จะมีผลต่อค่าเงินของประเทศนั้น ข่าวที่มีผลต่อค่าเงินมาก ตัวอย่าง เช่น อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate), อัตราจ้างงาน (Employment Change), การประกาศตัวเลข GDP
ถ้าข่าวเศรษฐกิจ ของประเทศ ออกมาดี เช่น การจ้างงานเพิ่มขึ้น, GDP เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นเพิ่มขึ้น ตัวเลขออกมาดี คนแย่งกันซื้อ ค่าเงินก็จะสูงขึ้น ตามหลัก อุปสงค์/อุปทาน ถ้าข่าวออกมาเศรษฐกิจ ไม่ดี คนย่อมไม่อยาก จะถือเงินนั้นไว้ พากันเทขายออกมา ค่าเงินจึงลดลง
เมื่อเรารู้ว่าข่าวทำให้ค่าเงินนั้นๆ ขึ้น จะมีผลต่อราคาคู่เงินที่เราเล่น อย่างไร ตัวอย่างเช่น ถ้าข่าวออกมาแล้วค่าเงิน USD (ดอลล่าร์สหรัฐฯ) แข็งขึ้น ดอลล่าร์สูงขึ้น คู่เงินที่มี USD นำหน้า ราคาจะวิ่งขึ้นไป เช่น (USD/JPY, USD/CHF, USD/CAD) และคู่เงินที่มี USD ข้างหลัง ราคาก็จะลดลง เพราะตัวหารเพิ่มขึ้น เช่น (EUR/USD, GBP/USD, AUD/USD, NZD/USD) ถ้า USD อ่อนลง ก็กลับกัน

ข่าวที่สำคัญๆ จะมีต่อค่าเงินมาก ณ.เวลาที่ข่าวออก ราคาของคู่เงินอาจ ขึ้น/ลง มากกว่า 100 จุด ขึ้นอยู่กับ ผลของข่าว ผู้ที่ต้องการเล่นข่าวห้ามพลาดเด็ดขาด ผู้ที่เล่นเทคนิค เล่นตามซิกแนล ควรหลีกเหลี่ยงช่วงข่าวสำคัญ จึงควรศึกษาเกี่ยวกับข่าวให้ดี ถ้าเรามีความรู้เรื่องเศรษฐกิจ การเงิน จะเป็นประโยชน์มากในการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ
http://www.forexfactory.com/ จะมีข่าวของค่าเงินและข่าวที่กระทบของค่าเงินต่างๆซึ่งมีระดับความสำคัญดังนี้ครับ


ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
1 Non farm Payrolls
2 Unemployment Rate
3 Trade Balance : 
โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
4 GDP ( Gross Domestic Production ) : จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
5 PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure) : ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
6 CPI ( Consumer Price index ) : ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
7 TICS ( Treasury International Capital System ) : ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
8 FOMC ( Federal open Market committee meeting ) : จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
9 Retail Sales : ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
10 Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey : ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
11 PPI ( Producer Price Index ) : ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
12 Weekly Jobless Claims : ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
13 Personal Income : ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
14 Personal spending : ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
15 BOE Rate Decision ( Bank Of England ) : การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ 1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป) และ2.อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany,Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden,Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และSlovenia)
16 ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
17 Durable Goods orders :
 ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
18 ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager ) : ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้
19 Philadelphia Fed. Survey : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น
20 ISM Non-Manufacturing Index : ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
21 Factory Orders : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
22 Industrial Production & Capacity Utilization : ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
23 Non-Farm Productivity : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
24 Current Account Balance : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
25 Consumer Confidence ( Consumer Sentiment ) : ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า
26 NY Empire State Index - ( New York Empire Index ) : ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า
27 Leading Indicators : ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim,Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
28 Business Inventories : ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า
29 IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany ) : ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ระดับปานกลางถึงทั่วไป โดยมากใช้เป็นตัววัดพื้นฐาน... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน
30 Housing Starts
31 Existing Home sales
32 New Home Sales
33 Auto and Truck sales
34 Employee Cost Index - Labor Cost Index
35 M2 Money Supply - Money Cost
36 Construction Spending
37 Treasury Budget
38 Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39 Whole Sales Trade
40 NAPM ( National Association of Purchasing Management)







หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

การใช้ Stochastic


Stochastic  
  • Stochastic เป็นอินดิเกเตอร์ที่ใช้ได้ดีมากในกราฟ Sideway 
  • สำหรับ Sideway จะกลับตัวที่โซน 10-25 และ 75-90
  • ใน EUR/USD ช่วง Sideway ใช้ได้ดีใน TF 5 นาที
  • ถ้าใช้ Stochastic เทรดในช่วง Sideway  ให้เตรียมรองอีกสัก 2-3 ไม้
Super  STO ( Super overbought/super oversold )

  • Super STO จะอยู่ในโซน 0-10 และ 90-100 สามารถใช้ได้กับ Trend ถ้าเข้า Super STO จะแสดงว่า

ไปต่อได้อีก E/U TF 1ชั่วโมงแม่นมาก







หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์

การใช้ pivot piont

การใช้ pivot piont เป็นการนำค่า high และค่า low ของเมื่อวาน นำมาหาร 2 เพื่อหาจุดกึ่งกลาง และสร้างแนวรับแนวต้าน เป็นระบบที่ง่ายและไม่ต้องวิเคราะห์กราฟอะไรให้ยุ่งยากและถ้าเรามี Money management
ที่ดีก็จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายๆและไม่ยุ่งยาก
ที่นี้เรามาดูวิธีการใช้ครับ










1.ตั้ง Pending Order Buy stop ไว้ที่ MR1 ( ตั้ง TP ไว้ที่ MR2) และ (ตั้ง SL ไว้ที่ MS1)
2.ตั้ง Pending Order Sell stop ไว้ที่ MS1 ( ตั้ง TP ไว้ที่ MS2) และ (ตั้ง SL ไว้ที่ MR1)
3.ถ้าฝั่งใดฝั่งหนึ่งเปิดให้ปิดอีก Order ทันที
4.ใช้ได้ครั้งเดียวต่อวัน ต่อคู่เงิน เทรดได้เฉพาะช่วง บ่าย2โมงถึง 3 ทุ่ม
5.เมื่อถึงเวลา 3 ทุ่มให้ปิด Order ที่ค้างไว้อยู่ทันที ไม่ว่าจะเป็นบวกหรือลบ
6.จะต้องไม่เลื่อนหรือเปลี่ยน TP และ SL 

 เพียงแต่เราทำตามระบบ และไม่เปลี่ยนหรือนำระบบอื่นมาใช้ในการเข้าออกแค่นี้ก็สามารถเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสเร็จได้แล้ว

คุณสามารถมาดูค่าของ  pivot piont ของคู่เงินต่างๆได้ที่ http://www.dailyfx.com/technical_analysis/pivot_points




หน้าแรก  การตี Trendline  การวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด  การใช้pivot point  12 เรื่องที่ต้องรู้ในการเทรด  การตั้งค่าใช้งาน MT4  การใช้งานและคีย์ลัดใน MT4  แหล่งข่าว  แนวทางหลักการของ วอเร็น บัฟเฟ็ตต์  The 10 Commandments ของการลงทุน by ลุงโฉลก  ก่อนการเริ่มเทรดทุกครั้งเราควรคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง  กฎ 10 ข้อ และการวิเคราะห์เทคนิค  ระบบการเทรดโดยใช้เส้น EMA 5 ,10  ระบบการเทรดของผม การใช้ Stochastic  การวิเคราะห์ และ วิธีการอ่านข่าว  เว็บแหล่งรวม Indicator  การใช้ fibonacci  หลักการเทรดฟอเร็กซ์


เครื่องคำนวนอัตราแลกเปลี่ยน

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Christian Forex Facebook